การถ่ายคร่อมโฟกัส

การถ่ายคร่อมโฟกัสช่วยให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยการเปลี่ยนระยะโฟกัสโดยอัตโนมัติหลังการถ่ายแต่ละภาพ ภาพเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถสร้างภาพเดี่ยวที่อยู่ในโฟกัสตลอดระยะชัดลึกมาก การจัดองค์ประกอบภาพยังทำได้โดยใช้แอปพลิเคชั่นที่สนับสนุนการจัดองค์ประกอบส่วนลึก เช่น Digital Photo Professional (ซอฟต์แวร์ EOS)

  1. เลือก [การถ่ายภาพ: ถ่ายคร่อมโฟกัส] ()

  2. ตั้งค่า [ถ่ายคร่อมโฟกัส]

    • เลือก [ใช้งาน]
  3. ตั้งค่า [จำนวนภาพ]

    • ระบุจำนวนภาพที่ถ่ายต่อครั้ง
    • สามารถตั้งค่าได้ในช่วง [2]–[999]
  4. ตั้งค่า [ส่วนต่างโฟกัส]

    • ระบุความมากน้อยในการเลื่อนโฟกัส ค่านี้จะถูกปรับโดยอัตโนมัติเพื่อให้เหมาะกับค่ารูรับแสงในขณะที่ถ่ายภาพ

      ค่ารูรับแสงที่กว้างขึ้นจะเพิ่มการเลื่อนโฟกัสและทำให้การถ่ายคร่อมโฟกัสครอบคลุมขอบเขตกว้างขึ้นภายใต้ส่วนต่างโฟกัสและจำนวนภาพเท่าเดิม

    • หลังจากเสร็จสิ้นการตั้งค่า ให้กดปุ่ม ตั้งค่า
  5. ตั้งค่า [ปรับเรียบระดับแสง]

    • คุณสามารถชดเชยการเปลี่ยนแปลงความสว่างของภาพในระหว่างการถ่ายคร่อมโฟกัสได้โดยเลือก [ใช้งาน] เพื่อให้กล้องทำการปรับเปลี่ยนตามความแตกต่างระหว่างค่ารูรับแสงที่แสดงและค่ารูรับแสงจริง (f/number ที่ใช้งานจริง) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งโฟกัส
    • เลือก [ไม่ใช้งาน] หากคุณไม่ต้องการชดเชยการเปลี่ยนแปลงความสว่างของภาพในระหว่างการถ่ายคร่อมโฟกัส ใช้ตัวเลือกนี้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการจัดองค์ประกอบส่วนลึกของภาพที่ถ่ายในแอปพลิเคชั่น เช่น DPP
  6. ตั้งค่า [จัดองค์ประกอบส่วนลึก]

    • เลือก [ใช้งาน] สำหรับการจัดองค์ประกอบส่วนลึกในกล้อง ทั้งภาพที่จัดองค์ประกอบส่วนลึกและภาพต้นฉบับจะถูกบันทึกไว้
    • เลือก [ไม่ใช้งาน] หากคุณไม่ต้องการทำการจัดองค์ประกอบส่วนลึกในกล้อง เฉพาะภาพที่ถ่ายเท่านั้นที่จะถูกบันทึกไว้
  7. ตั้งค่า [จัดส่วนลึกที่ครอป]

    • เลือก [ใช้งาน] สำหรับการตัดภาพก่อนที่จะจัดองค์ประกอบ เพื่อเตรียมภาพใดๆ ที่ไม่มีมุมรับภาพที่เพียงพอสำหรับการจัดแนวองค์ประกอบโดยการตัดขอบเพื่อแก้ไขมุมรับภาพ
    • เลือก [ไม่ใช้งาน] หากคุณไม่ต้องการตัดขอบภาพเหล่านี้ ในกรณีนี้ บริเวณที่ไม่มีมุมรับภาพที่เพียงพอจะถูกปิดทับด้วยขอบสีดำในภาพที่บันทึกไว้ คุณสามารถตัดขอบภาพด้วยตนเองหรือแก้ไขได้ตามต้องการ
  8. ตั้งค่า [ช่วงเวลายิงแฟลช]

    • การถ่ายคร่อมโฟกัสสามารถทำได้กับ Speedlite ที่ใช้ร่วมกันได้ และยิงแฟลชผ่านช่องต่อการซิงค์สำหรับแฟลชที่ไม่ใช่ของแคนนอน
    • เมื่อตั้งค่าเป็น [0] Speedlite ที่ใช้ร่วมกันได้จะยิงแฟลชและกล้องจะถ่ายภาพทันทีที่ Speedlite ชาร์จเต็มแล้ว โปรดดูคู่มือการใช้งาน Speedlite ที่ใช้ร่วมกันได้สำหรับข้อควรระวังในการยิงแฟลชต่อเนื่อง ลองตั้งค่าช่วงเวลาให้นานขึ้นเมื่อใช้แฟลช Speedlite ที่ใช้ร่วมกันได้หลายตัวในการถ่ายภาพแบบใช้แฟลชไร้สาย
    • เมื่อใช้แฟลชที่ไม่ใช่ของแคนนอน ให้ตั้งค่าช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเวลาในการชาร์จแฟลชและความยาวนาน นอกจากนี้ โปรดดู แฟลชที่ไม่ใช่ของแคนนอน
  9. ถ่ายภาพ

    • ในการบันทึกภาพถ่ายของคุณในโฟลเดอร์ใหม่ ให้แตะ [สร้างโฟลเดอร์] และเลือก [ตกลง]
    • โฟกัสตรงจุดที่ใกล้กว่าของระยะโฟกัสที่คุณต้องการ จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุด
    • เมื่อการถ่ายภาพเริ่มขึ้น ให้ปล่อยปุ่มชัตเตอร์
    • กล้องจะถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเลื่อนตำแหน่งโฟกัสไปไม่มีที่สิ้นสุด
    • การถ่ายภาพจะสิ้นสุดลงหลังจากถึงจำนวนภาพที่คุณระบุ หรือจุดไกลสุดของช่วงโฟกัส
    • หากต้องการยกเลิกการถ่ายภาพ ให้กดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุดอีกครั้ง

ข้อควรระวัง

  • เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ่ายภาพวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหว แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง รีโมทสวิตช์ (แยกจำหน่าย ) หรือรีโมทคอนโทรลแบบไร้สาย (แยกจำหน่าย )
  • แนะนำให้ถ่ายภาพด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น หลังจากการจัดองค์ประกอบภาพเชิงลึก คุณสามารถครอบตัดภาพได้หากจำเป็น
  • สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์และแฟลชที่ใช้ร่วมกันได้กับคุณสมบัตินี้ โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์แคนนอน ()
  • การตั้งค่า [ส่วนต่างโฟกัส] ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามวัตถุ การตั้งค่า [ส่วนต่างโฟกัส] ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอในภาพรวม หรือการถ่ายภาพอาจใช้เวลานานขึ้นเนื่องจากถ่ายภาพมากขึ้น ถ่ายภาพทดสอบเพื่อตัดสินใจเลือกการตั้งค่า [ส่วนต่างโฟกัส] ที่เหมาะสม
  • การถ่ายภาพภายใต้แสงวูบวาบอาจทำให้ภาพไม่สม่ำเสมอ ในกรณีนี้ การลดความเร็วชัตเตอร์ลงอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  • การถ่ายคร่อมโฟกัสจะไม่สามารถใช้งานได้เมื่อตั้งค่ากล้องเป็นการโฟกัสด้วยตนเอง ()
  • การยกเลิกการถ่ายภาพที่กำลังดำเนินการอยู่อาจทำให้เกิดปัญหาการเปิดรับแสงในภาพสุดท้าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาพสุดท้ายเมื่อรวมภาพใน Digital Photo Professional
  • ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดในการถ่ายคร่อมโฟกัสคือ 1/8000 วินาที
  • ความเร็วการซิงค์แฟลชในการถ่ายคร่อมโฟกัสคือ 1/250 วินาที (สำหรับ [ฟูลเฟรม]) หรือ 1/320 วินาที (สำหรับ [1.6x (ตัดขอบ)])
  • การจัดองค์ประกอบส่วนลึกอาจล้มเหลวสำหรับภาพที่มีลวดลาย (เช่น ตาข่ายหรือลายทาง) หรือภาพที่โดยทั่วไปราบเรียบและมีรูปแบบเดียวกัน
  • เมื่อถ่ายภาพหลายภาพ ให้เริ่มจากการโฟกัสใกล้ๆ แล้วค่อยๆ โฟกัสให้ไกลออกไป
  • ระยะห่างที่มากเกินไปเมื่อเลื่อนตำแหน่งโฟกัสระหว่างภาพหลายภาพอาจทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอในภาพที่จัดองค์ประกอบส่วนลึก หรืออาจทำให้การจัดองค์ประกอบภาพล้มเหลว
  • การจัดองค์ประกอบส่วนลึกเหมาะสำหรับเป้าหมายที่ไม่เคลื่อนที่ ด้วยเหตุนี้ การถ่ายภาพเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่อาจทำให้การจัดองค์ประกอบไม่มีประสิทธิภาพ
  • การจัดองค์ประกอบส่วนลึกที่มีหลายเป้าหมายอาจล้มเหลว อย่างเช่นภาพที่คุณจัดองค์ประกอบมีเป้าหมายที่อยู่ห่างไกลจากกัน
  • หากต้องการยกเลิกการจัดองค์ประกอบส่วนลึกที่กำลังดำเนินการอยู่ ให้กดปุ่ม INFO การยกเลิกจะละทิ้งภาพที่จัดองค์ประกอบ แต่จะเก็บภาพต้นฉบับทั้งหมดไว้
  • ในการจัดองค์ประกอบส่วนลึก กล้องจะเลือกและรวมภาพที่ดีที่สุดจากภาพที่ถ่าย ไม่ได้รวมภาพที่ถ่ายทั้งหมดเพื่อสร้างภาพแบบจัดองค์ประกอบ

หมายเหตุ

  • เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ให้ตั้งค่ารูรับแสงในช่วง f/5.6–11 ก่อนการถ่ายภาพ
  • รายละเอียดต่างๆ เช่น ความเร็วชัตเตอร์ ค่ารูรับแสง และความไวแสง ISO จะถูกกำหนดตามเงื่อนไขสำหรับภาพแรก
  • [การถ่ายภาพ: ถ่ายคร่อมโฟกัส] จะเปลี่ยนกลับเป็น [ไม่ใช้งาน] เมื่อปรับสวิตช์เปิด/ปิดกล้องไปที่ ปิดเครื่อง

การตั้งค่าคุณภาพของภาพที่จัดองค์ประกอบส่วนลึกและภาพที่บันทึกไว้

  • ภาพที่จัดองค์ประกอบจะถูกบันทึกเป็นภาพ JPEG หรือ HEIF ด้วยคุณภาพของภาพ ใหญ่ ไม่มีการสร้างภาพที่จัดองค์ประกอบแบบ RAW
  • เมื่อตั้งค่า [ภาพนิ่ง ตัวเลือกบันทึก] ใน [ตั้งค่า: ระบบบันทึก+เลือกการ์ด/โฟลฯ] เป็น [บันทึกแยกจากกัน] ภาพต้นฉบับสำหรับทั้งสองช่องจะถูกบันทึกด้วยคุณภาพของภาพเดียวกันกับที่ตั้งไว้สำหรับการ์ดที่เลือกใน [ภาพนิ่ง ดูภาพ] ในการตั้งค่า [ตั้งค่า: ระบบบันทึก+เลือกการ์ด/โฟลฯ]