การเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
- พื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
- การเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
- Servo AF ติดตามพื้นที่ทั้งหมด
- เป้าหมายที่ตรวจจับ
- การตรวจจับดวงตา
- การเปลี่ยนเป้าหมายที่ติดตาม
- การติดตามด้วยปุ่ม
- โหมดโฟกัส
- การตั้งค่าจุด AF หรือกรอบโซน AF ด้วยตนเอง
- การดูภาพแบบขยาย
- คำแนะนำในการถ่ายภาพโดยใช้การโฟกัสอัตโนมัติ
- สภาวะการถ่ายภาพซึ่งอาจทำให้ยากต่อการโฟกัส
- ขอบเขตการโฟกัสอัตโนมัติ
พื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
: AF จุดเล็ก
กล้องจะโฟกัสในตำแหน่งที่แคบลงกว่าการใช้ AF จุดเดียว
: AF จุดเดียว
กล้องจะโฟกัสโดยใช้จุดโฟกัสอัตโนมัติจุดเดียว []
: ขยายพื้นที่ AF:
โฟกัสโดยใช้จุด AF [] จุดเดียวและพื้นที่ AF ที่ระบุในกรอบเป็นสีน้ำเงิน ใช้ได้ผลดีกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ซึ่งยากต่อการติดตามวัตถุด้วยการใช้ AF จุดเดียว
การโฟกัสบนวัตถุที่คุณต้องการจะง่ายกว่าการใช้โซน AF แบบปรับได้
เมื่อใช้งาน Servo AF คุณจะโฟกัสโดยใช้จุด AF [] ก่อน
: ขยายพื้นที่ AF: โดยรอบ
โฟกัสโดยใช้จุด AF [] จุดเดียวและพื้นที่ AF โดยรอบที่ระบุในกรอบเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้โฟกัสบนวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าขยายพื้นที่ AF:
เมื่อใช้งาน Servo AF คุณจะโฟกัสโดยใช้จุด AF [] ก่อน
: โซน AF แบบปรับได้ 1
โดยค่าเริ่มต้น กรอบโซน AF สี่เหลี่ยมได้ถูกตั้งไว้
: โซน AF แบบปรับได้ 2
โดยค่าเริ่มต้น กรอบโซน AF สี่เหลี่ยมแนวตั้งได้ถูกตั้งไว้
: โซน AF แบบปรับได้ 3
โดยค่าเริ่มต้น กรอบโซน AF สี่เหลี่ยมแนวนอนได้ถูกตั้งไว้
เมื่อใช้โซน AF แบบปรับได้ 1–3 คุณสามารถกำหนดขนาดของกรอบโซน AF ได้อย่างอิสระ ()
ใช้การเลือก AF อัตโนมัติในกรอบโซน AF เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าขยายพื้นที่ AF ซึ่งทำให้การโฟกัสง่ายกว่าการใช้ AF จุดเดียว/ขยายพื้นที่ AF และใช้ได้ผลดีกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
พื้นที่การโฟกัสไม่เพียงแต่จะกำหนดตามวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆ หลายอย่าง เช่น ใบหน้า (ของคนหรือสัตว์) ยานพาหนะ การเคลื่อนไหวของวัตถุ และระยะห่างของวัตถุ
การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจะแสดง [] เหนือจุด AF ที่อยู่ในโฟกัส
: AF พื้นที่ทั้งหมด
ใช้การเลือก AF อัตโนมัติในกรอบ AF พื้นที่ทั้งหมดเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าโซน AF แบบปรับได้ ซึ่งทำให้การโฟกัสง่ายกว่าการใช้ AF จุดเดียว/ขยายพื้นที่ AF/โซน AF แบบปรับได้ และใช้ได้ผลดีกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
พื้นที่การโฟกัสไม่เพียงแต่จะกำหนดตามวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆ หลายอย่าง เช่น ใบหน้า (ของคนหรือสัตว์) ยานพาหนะ การเคลื่อนไหวของวัตถุ และระยะห่างของวัตถุ
การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจะแสดง [] เหนือจุด AF ที่อยู่ในโฟกัส
การเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
คุณสามารถเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติให้เหมาะกับสภาวะการถ่ายภาพหรือวัตถุ
หากคุณต้องการโฟกัสด้วยตนเอง โปรดดู การโฟกัสด้วยตนเอง
-
เลือก [: พื้นที่โฟกัสอัตโนฯ]
-
เลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ
หมายเหตุ
- ในการกำหนดพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ คุณยังสามารถกดปุ่ม แล้วตามด้วยปุ่ม
Servo AF ติดตามพื้นที่ทั้งหมด
คุณสามารถตั้งค่าได้ว่าจะสลับไปใช้การติดตามเป้าหมายภายในพื้นที่ทั้งหมดระหว่าง Servo AF หรือไม่ (ในขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เมื่อตั้งค่า [: การโฟกัสอัตโนมัติ] ไว้เป็น [Servo AF])
-
เลือก [: Servo AF ติดตามพื้นที่ทั้งหมด]
-
เลือกตัวเลือก
-
เปิด
พื้นที่โฟกัสอัตโนมัติจะสลับไปเป็น AF พื้นที่ทั้งหมดเพื่อติดตามเป้าหมายทั่วทั้งพื้นที่หน้าจอในขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
-
ปิด
เป้าหมายจะถูกติดตามภายในจุด AF เท่านั้นเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดลงจนสุด
-
เป้าหมายที่ตรวจจับ
คุณสามารถระบุเงื่อนไขสำหรับการเลือกเป้าหมายหลักที่จะติดตามโดยอัตโนมัติได้
การเลือกตัวเลือกอื่นนอกเหนือจาก [ไม่มี] จะแสดงกรอบการติดตาม [] สำหรับเป้าหมายหลักที่ตรวจพบ กรอบการติดตามจะเคลื่อนที่เพื่อติดตามเป้าหมายที่เริ่มเคลื่อนไหว
คุณสามารถถ่ายภาพโดยให้ดวงตาของเป้าหมายอยู่ในโฟกัสได้โดยตั้งค่า [: ตรวจจับดวงตา] เป็นตัวเลือกอื่นนอกเหนือจาก [ไม่ใช้งาน] ()
-
อัตโนมัติ
การเลือกเป้าหมายหลักที่จะติดตามโดยอัตโนมัติจากบุคคล สัตว์ หรือยานพาหนะใดๆ ในฉาก
-
คน
ให้ความสำคัญกับใบหน้าหรือศีรษะของผู้คนเป็นวัตถุหลักในการติดตาม
เมื่อตรวจไม่พบใบหน้าหรือศีรษะของบุคคลอีกต่อไป กล้องจะพยายามตรวจจับและติดตามลำตัวของบุคคลนั้น หากตรวจไม่พบลำตัว กล้องอาจติดตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
-
สัตว์
ตรวจจับสัตว์ (สุนัข แมว นก หรือม้า) และบุคคล โดยมีผลการตรวจจับสัตว์ที่ให้ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายหลักที่จะติดตาม
สำหรับสัตว์ กล้องจะพยายามตรวจจับใบหน้าหรือร่างกาย และกรอบการติดตามจะแสดงเหนือใบหน้าใดๆ ที่ตรวจพบ
เมื่อไม่สามารถตรวจจับใบหน้าหรือศีรษะของสัตว์ กล้องอาจติดตามอวัยวะส่วนอื่นๆ
-
ยานพาหนะ
ตรวจจับยานพาหนะ (รถสปอร์ตและรถจักรยานยนต์ เครื่องบิน และรถไฟ) และบุคคล โดยมีผลการตรวจจับยานพาหนะที่ให้ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายหลักที่จะติดตาม
สำหรับยานพาหนะ กล้องจะพยายามตรวจจับรายละเอียดสำคัญหรือทั้งตัวยานพาหนะ (หรือส่วนหน้าสำหรับรถไฟ) และกรอบการติดตามจะแสดงเหนือรายละเอียดใดๆ ที่ตรวจพบเหล่านี้
หากไม่สามารถตรวจจับรายละเอียดสำคัญหรือทั้งตัวยานพาหนะได้ กล้องอาจติดตามส่วนอื่นๆ ของยานพาหนะ
กดปุ่ม เพื่อเปิดหรือปิดการตรวจจับเฉพาะจุดสำหรับรายละเอียดสำคัญของยานพาหนะ
-
ไม่มี
กล้องจะกำหนดเป้าหมายหลักโดยอัตโนมัติจากวิธีที่คุณจัดองค์ประกอบภาพ โดยไม่ตรวจจับเป้าหมาย
กรอบการติดตามจะไม่แสดงขึ้น
ข้อควรระวัง
-
อาจตรวจไม่พบเป้าหมายประเภทต่อไปนี้
- เล็กหรือใหญ่มาก
- สว่างหรือมืดเกินไป
- ซ่อนอยู่บางส่วน
- ยากที่จะแยกแยะความแตกต่างจากพื้นหลัง
- ถูกบดบังด้วยฝน หิมะ หรือเมฆฝุ่น
- ท่าทางของบุคคลหรือสีหรือรูปร่างของสิ่งที่พวกเขาสวมใส่อาจทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้ กรอบการติดตามยังอาจปรากฏขึ้นสำหรับเป้าหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับบุคคล
- กล้องอาจตรวจไม่พบสุนัข แมว นก หรือม้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สี รูปร่าง หรือท่าทาง กรอบการติดตามยังอาจปรากฏขึ้นสำหรับสัตว์ที่ดูคล้ายคลึงกันหรือเป้าหมายที่ไม่ใช่สัตว์
- กล้องอาจตรวจไม่พบยานพาหนะสองหรือสี่ล้อ เครื่องบิน หรือรถไฟ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด สี รูปร่าง หรือทิศทาง กรอบการติดตามยังอาจปรากฏขึ้นสำหรับยานพาหนะที่ดูคล้ายคลึงกันหรือเป้าหมายที่ไม่ใช่ยานพาหนะ
หมายเหตุ
-
เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อเลือกเป้าหมาย คุณสามารถเลือกเป้าหมายต่อไปนี้ได้ ในฉากที่ไม่มีเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กล้องจะติดตามเป้าหมายอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่า [เป้าหมายที่ตรวจจับ]
-
อัตโนมัติ
คน สัตว์ ยานพาหนะ
-
คน
คน สัตว์ ยานพาหนะ
(สัตว์และยานพาหนะจะถูกตรวจจับเฉพาะในขณะที่กำลังติดตามอยู่)
-
สัตว์
สัตว์ คน
-
ยานพาหนะ
ยานพาหนะ คน
-
- ใน [: จำกัดเป้าหมายที่ตรวจจับ] คุณสามารถจำกัดตัวเลือกการตั้งค่าการตรวจจับที่มีอยู่เป็นตัวเลือกที่คุณต้องการได้
- หากดูเหมือนว่ากล้องจะตรวจจับเป้าหมายที่คุณต้องการได้ยาก เมื่อคุณถ่ายภาพบุคคล สัตว์ หรือยานพาหนะด้วย [อัตโนมัติ] การตรวจจับอาจทำได้ง่ายขึ้นหากคุณสลับไปใช้ตัวเลือกการตั้งค่าสำหรับเป้าหมายนั้นโดยเฉพาะ
- หากต้องการจำกัด AF ไว้ที่พื้นที่โฟกัสอัตโนมัติที่คุณระบุ ให้ตั้งค่า [: Servo AF ติดตามพื้นที่ทั้งหมด] เป็น [ปิด] และ [: เป้าหมายที่ตรวจจับ] เป็น [ไม่มี]
การเลือกเป้าหมายสำหรับโฟกัสด้วยตนเอง
-
ตรวจสอบกรอบการติดตาม
- เล็งกล้องไปยังวัตถุ จุด AF (หรือกรอบโซน AF) จะปรากฏบนหน้าจอหากคุณตั้งค่า [: พื้นที่โฟกัสอัตโนฯ] เป็นตัวเลือกอื่นนอกเหนือจาก [AF พื้นที่ทั้งหมด] ในกรณีนี้ ให้เล็งจุด AF ไปที่เป้าหมาย
- กรอบการติดตาม [] จะปรากฏเหนือวัตถุใดๆ ที่ตรวจพบ
- กรอบการติดตาม [] ที่อยู่ห่างจากจุด AF จะแสดงเป็นสีเทา ยกเว้นในบางกรณี
- เมื่อเป้าหมายที่ติดตามอยู่ใกล้จุด AF แม้ว่าจะอยู่นอกจุด AF ก็ตาม กรอบการติดตามจะเปลี่ยนเป็นสีขาว (แยกความแตกต่างว่าเป็นกรอบที่ทำงานอยู่) ซึ่งช่วยให้สามารถเลือกเป็นเป้าหมายหลักได้
- การแสดงกรอบการติดตามเป็นสีเทา [] ไม่สามารถใช้กับการบันทึกภาพเคลื่อนไหว
-
โฟกัสและถ่ายภาพ/บันทึกภาพ
-
กรอบการติดตามจะแสดงขึ้น (เป็นสีเขียวสำหรับ AF ครั้งเดียว หรือสีน้ำเงินสำหรับ Servo AF) เมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง และกล้องจะส่งเสียงเตือน (เฉพาะ AF ครั้งเดียวเท่านั้น)
กรอบการติดตามสีส้มแสดงว่ากล้องไม่สามารถโฟกัสบนเป้าหมายได้
-
หมายเหตุ
- การเลือกเป้าหมายโดยการแตะเมื่อตั้งค่า [: พื้นที่โฟกัสอัตโนฯ] เป็น [AF พื้นที่ทั้งหมด] จะเปลี่ยนกรอบการติดตามเป็น [] และล็อคเป้าหมายนั้นเพื่อติดตามทั่วทั้งหน้าจอ
- หากต้องการปล่อยการล็อคการติดตาม ให้แตะ []
- การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเมื่อจุด AF ไม่ทับซ้อนกับกรอบการติดตาม [] จะโฟกัสโดยใช้จุด AF
- [] ที่ใช้งานอยู่อาจครอบคลุมบางส่วนของเป้าหมายแทนที่จะครอบคลุมเป้าหมายทั้งหมด
- ขนาดของกรอบการติดตามจะแตกต่างกันไปตามเป้าหมาย
- การเลือก AF อัตโนมัติสามารถทำได้โดยกดปุ่มที่กำหนดไว้สำหรับ [AF เป้าหมายที่ตรวจจับได้] ใน [: ปรับการทำงานของปุ่ม] ซึ่งจะเปลี่ยนพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติเป็น [AF พื้นที่ทั้งหมด]
ข้อควรระวัง
- การแตะที่หน้าจอเพื่อโฟกัสจะโฟกัสด้วย [AF ครั้งเดียว] โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่าการโฟกัสอัตโนมัติ
- หากใบหน้าไม่อยู่ในโฟกัส จะไม่สามารถตรวจจับใบหน้าได้ ปรับโฟกัสด้วยตนเอง () เพื่อให้สามารถตรวจจับใบหน้า จากนั้นทำการโฟกัสอัตโนมัติ
- การโฟกัสอัตโนมัติอาจไม่สามารถตรวจจับโฟกัสวัตถุหรือใบหน้าที่อยู่ในตำแหน่งขอบของหน้าจอได้ จัดองค์ประกอบภาพให้วัตถุอยู่ตรงกลาง หรือนำวัตถุให้ใกล้จุดกึ่งกลางมากขึ้น
การตรวจจับดวงตา
คุณสามารถถ่ายภาพเมื่อดวงตาของคนหรือสัตว์อยู่ในโฟกัส
-
เลือก [: ตรวจจับดวงตา]
-
เลือกตัวเลือก
-
ไม่ใช้งาน
การตรวจจับดวงตาจะไม่ทำงาน
-
ออโต้
เลือกดวงตาสำหรับ AF โดยอัตโนมัติหลังจากการตรวจจับดวงตา
-
ดวงตาขวา/ดวงตาซ้าย
ให้ความสำคัญกับดวงตาที่เลือกสำหรับ AF หลังจากการตรวจจับดวงตา หากตรวจไม่พบดวงตาข้างที่ให้ความสำคัญ จะใช้ดวงตาอีกข้างสำหรับ AF
-
-
เล็งกล้องไปยังวัตถุ
- กรอบการติดตามจะแสดงขึ้นรอบดวงตา
- คุณยังสามารถแตะหน้าจอเพื่อเลือกดวงตาได้ เมื่อตั้งค่า [: พื้นที่โฟกัสอัตโนฯ] เป็น [AF พื้นที่ทั้งหมด] หรือระหว่างที่กำลังติดตาม
- หากตรวจไม่พบดวงตาที่คุณเลือก กล้องจะเลือกดวงตาที่จะโฟกัสโดยอัตโนมัติ
- คุณสามารถเลือกดวงตาที่จะโฟกัสได้ด้วยปุ่ม เมื่อ [] แสดงขึ้นหลังจากที่คุณกดปุ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า [ตรวจจับดวงตา]
-
ถ่ายภาพ
ข้อควรระวัง
- ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและสภาวะการถ่ายภาพ ดวงตาของเป้าหมายอาจไม่ถูกตรวจจับอย่างถูกต้อง หรืออาจให้ความสำคัญกับดวงตาซ้ายหรือขวาของเป้าหมายได้ไม่ถูกต้อง
- ไม่มีการตรวจจับดวงตาเมื่อตั้งค่า [: เป้าหมายที่ตรวจจับ] เป็น [ไม่มี]
หมายเหตุ
- ใน [: ตรวจจับดวงตาซ้าย/ขวา] คุณสามารถจำกัดตัวเลือกการตั้งค่าการตรวจจับที่มีอยู่เป็นตัวเลือกที่คุณต้องการได้
การเปลี่ยนเป้าหมายที่ติดตาม
คุณสามารถกำหนดความง่ายในการสลับจุด AF ของกล้องเพื่อติดตามวัตถุ
-
สําคัญอย่างแรก
ติดตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับ AF ในขอบเขตที่เป็นไปได้
-
ที่เป้าหมาย
ติดตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับ AF ในขอบเขตที่เป็นไปได้ เปลี่ยนไปยังวัตถุอื่นหากกล้องไม่สามารถกำหนดได้อีกต่อไปว่าวัตถุที่ติดตามเป็นวัตถุหลักหรือไม่
-
เปลี่ยนเป้าหมาย
เปลี่ยนไปติดตามวัตถุอื่นเพื่อตอบสนองต่อสภาวะการถ่ายภาพ
ข้อควรระวัง
-
ข้อควรระวังเมื่อตั้งค่าเป็น [สําคัญอย่างแรก]
-
กล้องอาจไม่สามารถติดตามวัตถุต่อไปได้ภายใต้สภาวะของวัตถุบางประการ
- หากวัตถุขยับอย่างรุนแรง
- หากวัตถุหันหน้าไปทิศทางอื่นหรือเปลี่ยนท่าทาง
- หากกรอบการติดตามเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมาย หรือหากเป้าหมายซ่อนอยู่หลังสิ่งกีดขวางและคุณมองไม่เห็นอีกต่อไป
- เป้าหมายที่เลือกโดยการดำเนินการสัมผัสจะถูกติดตามในขอบเขตที่เป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่า [: เป้าหมายที่ตรวจจับ]
หมายเหตุ
- หากคุณต้องการรักษาโฟกัสบนเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้ในตอนแรก ให้พิจารณาใช้ [สําคัญอย่างแรก] หรือ [ที่เป้าหมาย]
- หากคุณต้องการสลับไปยังเป้าหมายอื่นๆ ทันทีที่กล้องสามารถโฟกัสได้ตามการจัดองค์ประกอบภาพ ให้พิจารณาใช้ [เปลี่ยนเป้าหมาย]
การติดตามด้วยปุ่ม
คุณสามารถกดปุ่มที่กำหนดให้ [เริ่ม/หยุดการติดตาม AF พื้นที่ทั้งหมด] ใน [: ปรับการทำงานของปุ่ม] เพื่อติดตามเป้าหมายด้วยกรอบการติดตาม [] ตัวอย่างนี้เป็นการกำหนดให้กับปุ่ม ()
-
ตรวจสอบกรอบการติดตาม
- กรอบการติดตามจะปรากฏขึ้นหลังจากที่คุณเล็งกล้องไปยังเป้าหมาย
- เล็งจุด AF ไปที่เป้าหมายหากคุณได้เลือกตัวเลือกอื่นนอกเหนือจาก [AF พื้นที่ทั้งหมด] ใน [: พื้นที่โฟกัสอัตโนฯ]
- สำหรับขยายพื้นที่ AF: หรือขยายพื้นที่ AF: โดยรอบ จุด AF ที่อยู่ติดกันจะแสดงขึ้นด้วย
- สำหรับโซน AF แบบปรับได้ กรอบโซน AF ที่กำหนดจะแสดงขึ้น
-
กดปุ่ม
- กรอบการติดตามจะเปลี่ยนเป็น [] ซึ่งจะล็อคเป้าหมายนั้นเพื่อติดตาม และจะตามเป้าหมายไปภายในหน้าจอหากเป้าหมายเคลื่อนที่ ในการยกเลิกการติดตาม ให้กดปุ่ม อีกครั้ง
- หากต้องการเลือกเป้าหมายที่จะโฟกัสเมื่อสามารถตรวจพบได้หลายเป้าหมาย ให้กดปุ่ม เพื่อเปลี่ยนกรอบการติดตามเป็น [] จากนั้นใช้ปุ่ม
- เมื่อการติดตามเริ่มต้นขึ้น เป้าหมายจะถูกติดตามทั่วทั้งหน้าจอ โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่ AF ที่กำหนดไว้
-
ถ่ายภาพ
หมายเหตุ
- ตำแหน่งของพื้นที่และจุด AF เมื่อการติดตามหยุดลงระหว่างสแตนด์บายการถ่ายภาพจะสอดคล้องกับตำแหน่งก่อนการติดตาม
- เมื่อการติดตามหยุดลงในขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดลงจนสุด พื้นที่ AF จะกลับสู่สถานะก่อนการติดตาม แต่จุด AF จะอยู่ตรงกลางกรอบการติดตามเมื่อการติดตามหยุดลง (ระหว่าง [Servo AF])
โหมดโฟกัส
คุณสามารถกำหนดวิธีโฟกัสของกล้องได้
-
เลือก [: โหมดโฟกัส]
-
เลือกตัวเลือก
-
AF
กล้องจะทำงานในโหมดโฟกัสอัตโนมัติ
-
MF
กล้องจะทำงานในโหมดโฟกัสด้วยตนเอง
-
ข้อควรระวัง
-
[: โหมดโฟกัส] จะไม่แสดงภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้
- เมื่อติดเลนส์ที่มีสวิตช์เลือกโหมดโฟกัส
- เมื่อติดเลนส์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการโฟกัสด้วยตนเอง
- เมื่อไม่ได้ติดเลนส์
- เมื่อตั้งค่าเป็น [MF] จุด AF จะถูกซ่อนไว้ระหว่างการแสดงข้อมูลพื้นฐาน และไอคอน MF จะแสดงขึ้น
การตั้งค่าจุด AF หรือกรอบโซน AF ด้วยตนเอง
คุณสามารถตั้งค่าจุด AF ด้วยตนเองได้ หน้าจอเช่นนี้จะแสดงขึ้นเมื่อตั้งค่าเป็นโซน AF แบบปรับได้ 1
-
ตรวจสอบจุดโฟกัสอัตโนมัติ
- จุด AF (1) จะแสดงขึ้น
-
เลื่อนจุดโฟกัสอัตโนมัติ
- กดปุ่ม จากนั้นใช้ปุ่ม เพื่อเลื่อนจุด AF ไปยังตำแหน่งสำหรับการโฟกัส (แต่โปรดทราบว่าเมื่อใช้เลนส์บางรุ่น อาจไม่สามารถเลื่อนไปที่ขอบของหน้าจอ)
- หากต้องการคืนจุด AF กลับไปที่กึ่งกลางของหน้าจอ ให้กดปุ่ม
- คุณยังสามารถโฟกัสโดยการแตะตำแหน่งบนหน้าจอได้อีกด้วย
- คุณสามารถปรับขนาดกรอบโซน AF ที่ใช้สำหรับโซน AF แบบปรับได้ ()
-
โฟกัสและถ่ายภาพ/บันทึกภาพ
- เล็งจุดโฟกัสอัตโนมัติไปยังวัตถุ และกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
- เมื่อเป้าหมายอยู่ในโฟกัสแล้ว จุด AF จะเปลี่ยนสี (เป็นสีเขียวสำหรับ AF ครั้งเดียว หรือสีน้ำเงินสำหรับ Servo AF) และกล้องจะส่งเสียงเตือน (เฉพาะสำหรับ AF ครั้งเดียว)
- หากกล้องไม่สามารถโฟกัสได้ จุด AF จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
ข้อควรระวัง
- กล้องจะเลื่อนจุด AF [] โดยตลอดเพื่อติดตามวัตถุ เมื่อตั้งค่าเป็นโซน AF แบบปรับได้และ Servo AF แต่ภายใต้สภาวะการถ่ายภาพบางอย่าง (เช่น เมื่อวัตถุมีขนาดเล็ก) อาจไม่สามารถติดตามวัตถุได้
- การโฟกัสอาจทำได้ยากเมื่อใช้จุดโฟกัสอัตโนมัติบริเวณขอบภาพ ในกรณีนี้ ให้เลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติกึ่งกลาง
- การแตะที่หน้าจอเพื่อโฟกัสจะโฟกัสด้วย [AF ครั้งเดียว] โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่าการโฟกัสอัตโนมัติ
การดูภาพแบบขยาย
หากต้องการตรวจสอบโฟกัส คุณสามารถขยายการแสดงภาพได้ประมาณ 5× หรือ 10× โดยแตะ []
-
การขยายภาพจะอยู่กึ่งกลางกรอบการติดตามเมื่อกรอบการติดตามเป็นสีขาว (เป็นกรอบที่ใช้งานอยู่) หลังจากการตรวจจับเป้าหมาย
การขยายภาพจะอยู่กึ่งกลางจุด AF (ตรงกลางหน้าจอ) เมื่อตรวจพบเป้าหมายและกรอบการติดตามเป็นสีเทา หรือเมื่อตรวจไม่พบเป้าหมาย
- การโฟกัสอัตโนมัติจะดำเนินการในขณะดูภาพแบบขยายหากคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
- เมื่อตั้งค่าเป็น Servo AF หรือ AI Focus AF การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งในขณะดูภาพแบบขยายจะเปลี่ยนกลับเป็นการดูภาพแบบปกติเพื่อดำเนินการโฟกัส
ข้อควรระวัง
- หากการโฟกัสทำได้ยากเมื่อใช้การดูภาพแบบขยาย ให้กลับสู่การดูภาพแบบปกติและทำการโฟกัสอัตโนมัติ
- หากคุณทำการโฟกัสอัตโนมัติในขณะดูภาพแบบปกติแล้วใช้การดูภาพแบบขยาย อาจไม่ได้การโฟกัสที่ถูกต้อง
- ความเร็วการโฟกัสอัตโนมัติจะแตกต่างกันระหว่างการดูภาพแบบปกติและการดูภาพแบบขยาย
- ดูตัวอย่าง AF และ Servo AF ภาพเคลื่อนไหวไม่สามารถใช้งานได้ในขณะดูภาพแบบขยาย
- เมื่อใช้การดูภาพแบบขยาย การจับโฟกัสจะทำได้ยากขึ้นเนื่องจากการสั่นของกล้อง แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง
คำแนะนำในการถ่ายภาพโดยใช้การโฟกัสอัตโนมัติ
- แม้จะโฟกัสได้แล้ว การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจะทำให้จับโฟกัสอีกครั้ง
- ความสว่างของภาพอาจเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการโฟกัสอัตโนมัติ
- ขึ้นอยู่กับสภาวะการถ่ายภาพและวัตถุ การโฟกัสอาจต้องใช้เวลานานขึ้น หรือความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องอาจลดลง
- หากแหล่งกำเนิดแสงเปลี่ยน ขณะที่คุณถ่ายภาพ ภาพหน้าจออาจเกิดแสงวูบวาบ และอาจทำให้โฟกัสได้ยากขึ้น ในกรณีนี้ ให้เปิดกล้องใหม่อีกครั้ง และกลับมาถ่ายภาพด้วยการโฟกัสอัตโนมัติใต้แหล่งกำเนิดแสงที่คุณจะใช้
- หากไม่สามารถโฟกัสได้โดยใช้การโฟกัสอัตโนมัติ ให้โฟกัสด้วยตนเอง ()
- หากวัตถุอยู่ที่ขอบของหน้าจอ ที่ซึ่งหลุดโฟกัสอยู่เล็กน้อย พยายามทำให้วัตถุนั้นอยู่กึ่งกลาง (หรือ จุดโฟกัสอัตโนมัติ, กรอบโซนโฟกัสอัตโนมัติ) เพื่อให้อยู่ในโฟกัส จากนั้นจัดองค์ประกอบภาพก่อนถ่ายภาพ
- สำหรับเลนส์บางชนิด อาจต้องใช้เวลานานขึ้นเพื่อจับโฟกัสด้วยการโฟกัสอัตโนมัติ หรืออาจไม่ได้การโฟกัสที่ถูกต้อง
สภาวะการถ่ายภาพซึ่งอาจทำให้ยากต่อการโฟกัส
- วัตถุที่มีความเปรียบต่างต่ำ เช่น ท้องฟ้าสีฟ้า พื้นผิวสีทึบที่เรียบแบน หรือเมื่อรายละเอียดบริเวณสว่างหรือมืดขาดหายไป
- วัตถุในสภาวะแสงน้อย
- ลายทางและลวดลายแบบอื่นๆ ที่มีความแตกต่างตามแนวนอนเท่านั้น
- วัตถุที่มีลวดลายเป็นแบบแผน (ตัวอย่าง: กลุ่มหน้าต่างของตึกสูง แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
- เค้าโครงวัตถุและลายเส้นที่ละเอียด
- ภายใต้แหล่งแสงที่เปลี่ยนความสว่าง สี หรือรูปแบบตลอดเวลา
- ฉากกลางคืนหรือจุดแสง
- การสั่นไหวของภาพใต้แสงไฟฟลูออเรสเซนต์หรือไฟ LED
- วัตถุขนาดเล็กมาก
- วัตถุอยู่ที่ขอบของหน้าจอ
- วัตถุที่ถ่ายแบบย้อนแสงมากๆ หรือวัตถุที่มีผิวสะท้อน (ตัวอย่าง: รถยนต์ที่มีพื้นผิวสะท้อนแสงสูง ฯลฯ)
- วัตถุในระยะใกล้และไกลที่อยู่ในจุดโฟกัสเดียวกัน (ตัวอย่าง: สัตว์ในกรง ฯลฯ)
- วัตถุในจุดโฟกัสที่ขยับอยู่ตลอดเวลาและจะไม่หยุดนิ่งเนื่องจากกล้องสั่นหรือวัตถุเบลอ
- ทำการโฟกัสอัตโนมัติขณะที่วัตถุหลุดโฟกัสไปมาก
- ปรับใช้เอฟเฟคซอฟต์โฟกัสเมื่อใช้เลนส์ซอฟต์โฟกัส
- เมื่อใช้ฟิลเตอร์แบบเทคนิคพิเศษ
- จุดรบกวน (จุดแสง ริ้ว ฯลฯ) ปรากฏบนหน้าจอในระหว่างการโฟกัสอัตโนมัติ
ขอบเขตการโฟกัสอัตโนมัติ
ขอบเขตการโฟกัสอัตโนมัติที่ใช้ได้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้และการตั้งค่า เช่น อัตราส่วนภาพ ขนาดการบันทึกภาพเคลื่อนไหว และดิจิตอล IS ภาพเคลื่อนไหว