โหมดถ่ายแพน

ด้วยการถ่ายแพน คุณสามารถทำให้ฉากหลังเบลอเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของความเร็ว

การติดเลนส์ที่รองรับโหมด [ถ่ายแพน] (ถ่ายแพน) จะทำให้ลดการเบลอของวัตถุได้ และจะช่วยให้วัตถุคงความชัดเจนและคมชัด

เคล็ดลับ คำแนะนำในการถ่ายภาพ

  • หันกล้องเพื่อติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่

    ขณะที่คุณถ่ายภาพ ให้หันกล้องอย่างราบรื่นในระหว่างติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เล็งจุดโฟกัสอัตโนมัติไปยังวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เพื่อโฟกัส กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เริ่มหันกล้องเพื่อติดตามวัตถุ จากนั้นกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุดเพื่อถ่ายภาพ โดยหันกล้องติดตามวัตถุต่อไปเรื่อยๆ หลังจากนี้

  • ตั้งระดับความเบลอจากการเคลื่อนไหวในฉากหลัง

    ใน [เอฟเฟค] คุณสามารถตั้งระดับความเบลอจากการเคลื่อนไหวในฉากหลังได้ ตั้งค่า [เอฟเฟค: มาก] เพื่อทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงและเพิ่มความเบลอจากการเคลื่อนไหวในฉากหลังรอบๆ วัตถุนั้น หากวัตถุเบลอมากเกินไป ให้ลดโดยตั้งค่า [เอฟเฟค] เป็น [เอฟเฟค: กลาง] หรือ [เอฟเฟค: น้อย]

ข้อควรระวัง

  • สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ที่รองรับโหมด [ถ่ายแพน] โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์แคนนอน ()
  • ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง ด้วยเหตุนี้ โหมดถ่ายแพนจะไม่เหมาะสมเว้นแต่คุณจะแพนขณะถ่ายภาพ
  • มีการจำกัดตัวเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนฯ เป็น [AF จุดเดียว], [โซน AF แบบปรับได้ 1], [โซน AF แบบปรับได้ 2] และ [โซน AF แบบปรับได้ 3]
  • การตั้งค่าเริ่มต้นคือ [ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วต่ำ] โปรดทราบว่า [ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง] ไม่สามารถใช้งานได้
  • การถ่ายภาพแบบใช้แฟลชไม่สามารถใช้งานได้
  • แม้ว่าจะใช้ระบบ IS ของเลนส์กับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ที่รองรับโหมด [ถ่ายแพน] เอฟเฟคก็จะไม่แสดงบนหน้าจอในขณะที่คุณถ่ายภาพ (IS และการแก้ไขวัตถุเบลอจะถูกเปิดใช้งานเมื่อคุณถ่ายภาพ ไม่ว่าการตั้งค่า IS ของเลนส์จะเป็นเช่นไร)
  • ด้วยเลนส์ที่ไม่รองรับโหมด [ถ่ายแพน] จะไม่มีการลดความเบลอของเป้าหมาย แต่จะมีการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะกับการตั้งค่า [เอฟเฟค] โดยอัตโนมัติ
  • ระดับเอฟเฟคถ่ายแพนที่คุณระบุไว้อาจจะใช้ไม่ได้ เมื่อถ่ายภาพภายใต้แสงที่สว่างจ้า (เช่น วันที่แดดจ้าในฤดูร้อน) หรือ เมื่อถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ช้า
  • วัตถุหรือสภาวะการถ่ายภาพต่อไปนี้อาจทำให้ไม่ได้การแก้ไขวัตถุเบลอที่เหมาะสมด้วยเลนส์ที่รองรับโหมด [ถ่ายแพน]

    • วัตถุที่มีความเปรียบต่างต่ำมาก
    • วัตถุในสภาวะแสงน้อย
    • วัตถุที่ถ่ายแบบย้อนแสงมากๆ หรือวัตถุที่มีผิวสะท้อน
    • วัตถุที่มีลวดลายเป็นแบบแผน
    • วัตถุที่มีลวดลายน้อย หรือวัตถุที่มีลายเดียว
    • วัตถุที่มีแสงสะท้อน (เช่น ภาพที่สะท้อนในกระจก)
    • วัตถุที่เล็กกว่ากรอบโซนโฟกัสอัตโนมัติ
    • วัตถุหลายอย่างเคลื่อนที่อยู่ภายในกรอบโซนโฟกัสอัตโนมัติ
    • วัตถุที่เคลื่อนที่ในทิศทางหรือด้วยความเร็วที่คาดเดาไม่ได้
    • เป้าหมายที่บางครั้งเคลื่อนที่ไม่แน่นอน (เช่น นักวิ่งที่ขยับขึ้นและลงขณะวิ่ง)
    • เป้าหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วอย่างชัดเจน (เช่น ทันทีหลังจากการเคลื่อนไหวครั้งแรก หรือเมื่อเคลื่อนที่ไปตามทางโค้ง)
    • เมื่อกล้องเคลื่อนที่เร็วหรือช้าเกินไป
    • เมื่อกล้องเคลื่อนที่ไม่ตรงตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
    • ด้วยความยาวโฟกัสของเลนส์ยาว