การตั้งค่า HDR PQ

PQ ใน HDR PQ หมายถึง เส้นโค้งแกมมาของสัญญาณเข้าสำหรับการแสดงภาพ HDR

การตั้งค่า HDR PQ ช่วยให้กล้องสามารถสร้างภาพ HDR ที่สอดคล้องกับข้อกำหนด PQ ที่ระบุไว้ใน ITU-R BT.2100 และ SMPTE ST.2084 (ที่มีการแสดงผลจริงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของจอภาพ)

ภาพจะถูกถ่ายเป็นภาพ HEIF หรือ RAW

HDR หมายถึง High Dynamic Range (ช่วงรับแสงสูงพิเศษ)

PQ หมายถึง Perceptual Quantization (การแบ่งนับระดับการรับรู้)

  1. เลือก [การถ่ายภาพ: ตั้งค่า HDR PQ]

  2. เลือก [ถ่ายภาพ HDR ]

    • เลือก [ใช้งาน]
  3. ตั้งค่า [ตัวช่วยการแสดงผล HDR: ถ่ายภาพ]

    • ภาพที่แปลงแล้วจะแสดงบนหน้าจอในการถ่ายภาพแบบ Live View ซึ่งให้ความประทับใจคล้ายกับที่ปรากฏบนอุปกรณ์แสดงผล HDR
    • เลือก [เน้นระดับแสง (โทนปานกลาง)] หรือ [เน้นโทนภาพ (บริเวณสว่าง)]
    • [V.Assist1] เน้นระดับแสง (โทนปานกลาง)

      ให้การแสดงผลอ้างอิงที่เน้นการเปิดรับแสงของวัตถุ (เช่น บุคคล) ที่มีความสว่างปานกลาง

    • [V.Assist2] เน้นโทนภาพ (บริเวณสว่าง)

      ให้การแสดงผลอ้างอิงที่เน้นการไล่ระดับสีของวัตถุที่สว่าง (เช่น ท้องฟ้า)

  4. ตั้งค่า [ตัวช่วยการแสดงผล HDR: ดูภาพ]

    • ภาพที่แปลงแล้วจะแสดงบนหน้าจอสำหรับการเล่นภาพ ซึ่งให้ความประทับใจคล้ายกับที่ปรากฏบนอุปกรณ์แสดงผล HDR
    • เลือก [เน้นระดับแสง (โทนปานกลาง)] หรือ [เน้นโทนภาพ (บริเวณสว่าง)]
    • [HDR VA1] เน้นระดับแสง (โทนปานกลาง)

      ให้การแสดงผลอ้างอิงที่เน้นการเปิดรับแสงของวัตถุ (เช่น บุคคล) ที่มีความสว่างปานกลาง

    • [HDR VA2] เน้นโทนภาพ (บริเวณสว่าง)

      ให้การแสดงผลอ้างอิงที่เน้นการไล่ระดับสีของวัตถุที่สว่าง (เช่น ท้องฟ้า)

  5. ตั้งค่าคุณภาพของภาพ

หมายเหตุ

  • การตั้งค่าสำหรับ [ตัวช่วยการแสดงผล HDR: ถ่ายภาพ] ยังใช้กับภาพที่แสดงบนหน้าจอทันทีหลังจากที่คุณถ่ายภาพ

ข้อควรระวัง

  • ภาพ HEIF จะถูกถ่ายด้วยขนาด L
  • ความไวแสง ISO แบบขยาย (L, H1, H2, H3) ไม่สามารถใช้งานได้ในการถ่ายภาพ HDR
  • บางฉากอาจดูแตกต่างจากที่ปรากฏบนอุปกรณ์แสดงผล HDR
  • ฮิสโตแกรมของภาพที่ถ่ายด้วยการตั้งค่า [ถ่ายภาพ HDR ] เป็น [ใช้งาน] ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาพตามที่แปลงสำหรับตัวช่วยการแสดงผล HDR พื้นที่ภาพที่แสดงเป็นสีเทาในฮิสโตแกรมบ่งบอกคร่าวๆ ถึงค่าสัญญาณที่ไม่ได้ใช้